คลินิกรักษาสะเก็ดเงินและด่างขาว

โรคสะเก็ดเงินเกิดจากอะไร

เกิดจากเซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเพิ่มจานวนอย่างรวดเร็วร่วมกับระบบ ที ลิมโฟซัย ที่ทางานผิดปกติ ร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งกระตุ้นภายนอก


ระบาดวิทยาของโรคสะเก็ดเงิน

  • พบได้ร้อยละ1-2
  • พบในชายมากกว่าหญิงเล็กน้อยในอัตราส่วน 1.3:1
  • พบได้ในสองช่วงอายุ คือ ช่วงอายุน้อย คือ 22.5 ปี และช่วงอายุมากคือมากกว่า 55 ปี
  • อายุเฉลี่ยในคนไทยประมาณ 32 ปี
  • ในเพศหญิงมักจะมีอาการก่อนเพศชาย คือประมาณ 29 ปี และ32 ปีตามลาดับ
  • ผู้ป่วยที่เป็นตั้งแต่อายุน้อยมักจะมีอาการรุนแรงกว่าที่เป็นตอนอายุมาก
  • ผู้ป่วยที่เป็นตั้งแต่อายุน้อยมักจะมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน


ปัจจัยทางพันธุกรรมส่งผลต่อการเกิดสะเก็ดเงินอย่างไร

  • 35 -90 %ของ ผู้ป่วยสะเก็ดเงินมีประวัติโรคสะเก็ดเงินในครอบครัว
  • ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ลูกมีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงิน 41 %
  • แต่ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ลูกมีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงิน 14 %
  • แต่หากมีญาติพี่น้องที่ไม่ใช่พ่อแม่เป็นโรคสะเก็ดเงิน มีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงิน เพียง6%

 

ประเภทของสะเก็ดเงิน

1ผื่นหนาเฉพาะที่ (chronic plaque type psoriasis)   พบผื่นหนา ขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดหนาปกคลุมพบได้ตามตำแหน่งที่มีการเสียดสีต่างๆเช่นข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า สะโพก ก้น พบร้อยละ 80-90 ของที่พบได้ทั้งหมด 

2 ผื่นรูปหยดน้ำ (guttate psoriasis ) พบน้อยกกว่าร้อยละ 10-20 มักพบในเด็กและมักพบตามหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเช่น หวัด คออักเสบ โดยการติดเชื้อหวัดหรือคออักเสบนำมาก่อน 1-2 สัปดาห์ 

3 สะเก็ดเงินแบบตุ่มหนอง (pustular psoriasis) เป็นชนิดที่มีตุ่มหนองตามตำแหน่งต่างๆ มีแบบย่อยคือ แบบที่เป็นทั่วตัว แบบที่เป็นเฉพาะฝ่ามือฝ่าเท้า และชนิดเป็นในคนท้อง  ซึ่งเราอาจพบ สะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนองร่วมกับชนิดผื่นหนาเฉพาะที่ได้ 

4 ชนิดผื่นลอกทั่วตัว (erythrodermic psoriasis)  อาจเกิดหลังจากเป็นชนิดผื่นหนาเฉพาะที่บริเวณกว้างๆได้ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นขาดโปรตีน เกลือแร่ผิดสมดุล หรือไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ 

5 Inverseหรือflexuralpsoriasisมี ผื่นแดงราบมี ขุยเล็กน้อยหรือไม่มีขุยมักมีรอบแตกตรงกลาง(centralfissure)บริเวณซอกพับของ ร่างกายได้แก่ รักแร้ ใต้ ราวนม สะดือ หลังหู ขาหนีบอวัยวะเพศ ร่องก้นเป็นต้น การติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียอาจกระตุ้นให้ ผื่นจะเป็นมากขึ้น

6 เล็บ(Psoriasisnails)ความผิดปกติ มี หลายรูปแบบเช่นเล็บเป็นหลุม(pitting),ปลายเล็บร่อน(onycholysis),ปลายเล็บหนามีขุยใต้เล็บ(subungualhyperkeratosis)และจุดสีน้ำตาลใต้ เล็บ(oil spot)มักพบความผิดปกติเกิดขึ้นหลายๆเล็บทั้งเล็บมือและเล็บเท้า โดยพบที่ นิ้วมือ50%นิ้วเท้า35% เล็บผิดปกติ พบได้ 40%ในผู่ป่วยโรคสะเก็ดเงินทุกประเภทโดยพบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ มี ผื่น รุน แรงมีข้ออักเสบรวมด้วยซึ่งข้ออักเสบสะเก็ดเงินจะพบมีความผิดปกติ ของเล็บร่วมด้วยได้ถึง90%

7 Scalp psoriasisหนังศีรษะเป็นตําแหน่งที่พบบ่อยผื่นจะแดงนูน ขอบเขตชัดเจนมี ขุยมักพบบนหนัง ศีรษะนอกhairlineใบหน้า หลังหู และคอส่วนบนร่วมด้วย บางครั้ งแยกจากseborrheic dermatitisได้ ยากผื่นของseborrheicdermatitisขอบเขตจะไม่ ชัดเจนแต่ บางครั้งอาจพบทั้ง สองภาวะร่วมกันได้ ส่วนภาวะ sebopsoriasisผื่นแดงมีขุยมันบริเวณseborrheic areasเช่นกัน แต่ ผู้ป่วยมักมีประวัติครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน


การวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงิน


  • การวินิจฉัยอาศัยประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นหลัก
  • ประวัติ
  • ผื่นที่ผิ วหนังเป็ นเรื้อรังอาจจะมี อาการคันหรือไม่มีอาการคัน
  • บางรายมี ประวัติ ครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน
  • ผื่นอาจกาเริบได้ ภายหลังภาวะการติดเชื้อความเครียดหรือหลังได้รับยาบางชนิดเช่นlithium,antimalaria,beta lithium,antimalaria,beta lithium,antimalaria,betalithium,antimalaria,beta-blocker,NSAIDS blocker,NSAIDS blocker,NSAIDS blocker,NSAIDS และalcohol alcohol alcoholการตรวจร่างกาย
  • ผิวหนังผื่นมี ลักษณะเด่นได้แก่ มีผื่นนูนแดงหนามีขอบชัดเจนมีขุยหนาเป็นแผ่นมันสีเงินปกคลุมผืนและเมื่อขูดขุยออกจะเห็นจุดเลือดออกบนผื่น(AuspitzAuspitzAuspitz Auspitz ’ssign ssign )ผื่นมีขนาดแตกต่างกัน พบบริเวณลาตัวแขนขาหนังศีรษะผื่น อาจเกิดบนรอยแผลถลอก หรือรอยแผลผ่าตัด(KoebnerphenomenonKoebnerphenomenon Koebnerphenomenon Koebnerphenomenon Koebnerphenomenon )หรือบางครั้งเป็นผื่นแดงๆบางๆไม่ มีขุยตามบริเวณข้อพับรักแร้ สะดือขาหนีบใต้นม หรือเป็นตุ่มหนองกระจายทั่วร่างกาย


โรคร่วมที่เกิดร่วมกับโรคสะเก็ดเงิน(ComorbiditiesinPsorias )


  • พบความสัมพันธ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดกับโรคสะเก็ดเงิน นอกจากนี้ยังพบว่ามีความถี่ในการพบ metabolic syndrome, โรคซึมเศร้า และภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมากกว่า เมื่อเทียบกับคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับโรคร่วมที่พบบ่อยในผู้ป่วยไทยได้แก่ ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (15.6%-35.5%), HT (11.8%), DM (9.1%), DLP (3.7%), HIV (1.6%), โรคหลอดเลือดหัวใจ (0.8%), โรคอื่นๆ (0.6%)

ปัจจัยกระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน

  • ปัจจัยกระตุ้นผื่นอาจกาเริบได้ ภายหลังสิ่งกระตุ้นดังต่อไปนี้
  • การเกาหรือบางครั้งผื่นอาจเกิดขึ้นบนแผลถลอกหรือรอยแผล ผ่าตัด(Koebnerphenomenon)  ภาวะติดเชื้อเช่นGuttatepsoriasis-associatedwithStrep infectionsพบบ่อยในเด็ก  HIV ,การตั้ งครรภ์, ความเครียด, หลังได้รับยาบางชนิดเช่นβblockers,antimalarials,lithium, IFN,ACEinhibitors,GCSF,NSAIDs การหยุดสเตียรอยด ,แอลกอฮอล ,บุหรี่ สูบมากกว่า20มวนต่อวันเพิ่มอัตราเสี่ยงของสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง 2เท่า

การประเมินความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน


  • สำหรับประชาชนทั่วไป และหรือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปแนะนำให้ประเมินพื้นที่ผิวซึ่งสะดวกที่สุด ร่วมกับ ประเมินลักษณะผื่น ในสามหัวข้อ คือ ความแดง  ลักษณะขุย และความนูน
  • โดยใช้กฎของฝ่ามือคือ พื้นที่1ฝ่ามือเต็มๆคือพื้นผิว 1%ของร่างกาย พื้นที่ น้อยกว่า 10%คือระดับความรุนแรงที่น้อย พื้นที่ผิวมากกว่าหรือเท่ากับ 10% คือรุนแรงปานกลางและมาก
  • ส่วนลักษณะผื่นจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่าแนวโน้มโรคมีความรุนแรงโน้มเอียงไปในทิศทางใด
  • ในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษานั้นแพทย์ใช้ ข้อมูลดังกล่าวเลือก option ในการรักษาให้แก่ผป ตามความเหมาะสมในแต่ละคน

การรักษาผู้ป่วยสะเก็ดเงิน 

1 การประเมินความรุนแรง

2 ผู้ป่วยมีข้ออักเสบร่วมด้วยหรือไม่

3 ผู้ป่วยมีเล็บผิดปกติร่วมด้วยหรือไม่

4 ผู้ป่วยมีโรคร่วมอื่นหรือไม่

5 ผู้ป่วยมีปัจจัยกระตุ้นใดหรือไม่

ยาและเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาสะเก็ดเงิน 
 
  • ในผู้ป่วยสะเก็ดเงิน ความรุนแรงน้อยBSA น้อยกว่า 10% มีตัวเลือกในการรักษาคือ ยาทา ซึ่งคือ Steroids, VitaminD3 analogue, Tar, Anthralin  ยาทานั้นมีข้อดีคือมีความปลอดภัยแต่มีข้อเสียคือ การทายาในแต่ละวัน ค่อนข้างยุ่งยาก บางบริเวณทาไม่ถึงเช่น แผ่นหลัง เสียเวลาในการทายา
  • ในกลุ่มที่มีความรุนแรงน้อย ยังมีตัวเลือกอีกอย่างคือ การรักษาด้วยแสง UVเฉพาะที่ ซึ่งมีทั้งแสง UVA โดยใช้techniqueที่เรียกว่า PUVA   และการรักษาด้วยแสง UVBเช่นเครื่อง eximer laser ทั้งนี้พิจารณาใช้ในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อยาทาเฉพาะที่
  • การรักษาด้วยยารับประทาน ที่ใช้ในปัจจุบันสงวนไว้ในกรณีที่มีความรุนแรงระดับปานกลางและมาก BSA มากกว่า 10%ขึ้นไป หรือในกรณีที่พื้นที่น้อยกว่า 10% แต่อยู่ในตำแหน่งที่ทำให้ใช้ชีวิตยากลำบากเช่นสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนองที่ฝ่ามือ จนไม่สามารถใข้มือได้ ยารับประทานที่มีใช้ในปัจจุบันคือ MTX,Cyclosporin ,Acitretin ซึ่งในกลุ่มยารับประทานนี้มีข้อเสียคือ มีความจำเป็นต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด และจำเป็นต้องคุมกำเนิด เพราะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ให้เกิดความพิการได้ นอกจากนี้สำหรับ MTX อาจทำให้เกิดตับอักเสบ กดไขกระดูก สำหรับ cyclosporine อาจก่อให้เกิดการทำงานของไตผิดปกติ และ acitretin อาจทำให้เกิด ระดับไขมันผิดปกติได้
  • สำหรับการรักษาด้วยแสง UV ในกลุ่มที่มีอาการรุนแรงจะใช้การรักษาด้วยแสงUV ชนิดฉายแสงทั้งตัวด้วยเครื่อง NBUVB หรือ PUVAซึ่งในกรณีความรุนแรงปานกลางขึ้นไป มักจะใช้การรักษาผสมระหว่าง ยารับประทานกับการฉายแสงหรือยารับประทานกับยาทาเฉพาะที่ หรือยารับประทาน ยาทา และการฉายแสง

แนวคิดในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน

  • เป้าหมายอีกประการหนึ่งของการรักษาโรคสะเก็ดเงินคือ ทำให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมกับโรคสะเก็ดเงินได้ซึ่งหมายความว่าแม้จะไม่หายขาดแต่ก็สามารถที่จะเข้าใจธรรมชาติการเกิดโรค และรู้จักอยู่ร่วมโดยใช้ช่วงชีวิตที่มีอยู่ให้มีช่วงที่โรคสงบยาวนานที่สุดในขณะที่สามารถค้นหาปัจจัยกระตุ้นและจัดการดูแลตัวเองเบื้องต้นในการกำจัดปัจจัยกระตุ้นออกให้เร็วที่สุด กล่าวได้ว่าเป้าหมายในปัจจุบันของการรักษาสะเก็ดเงินคือการเข้าใจโรคและปรับตัวจนเป็นผู้ป่วยสะเก็ดเงินมืออาชีพนั่นเอง
  • การลดความสูญเสียและความพิการอันเกิดจากโรคร่วมและภาวะแทรกซ้อนเช่นจาก โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน หรือ ภาวะอ้วนลงพุง (metabolic syndrome ) โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะโรคอ้วน เป็นอีกสิ่งที่ในปัจจุบันนี้สามารถทำได้โดยค้นหาปัจจัยเสี่ยงและเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ


แพทย์ที่ลงตรวจ 

  • ศ.ดร.นพ.ธัมม์ทิวัตถ์ นรารัตน์วันชัย 
  • นพ.ไพศาล รัมณีย์ธร ดร.นพ.เทพ เฉลิมชัย 
  • นพ.จรัสพล รินทระ 
  • นพ.สมพงษ์ นาคพินิจ 
  • พญ.จริยา ทรงโฉม 
  • พญ.ชนม์นิภา เสียงประเสริฐ 
  • นพ.ศุภมน วิริยะจิรกุล

วันและเวลาเปิดให้บริการ
 
วันจันทร์- อังคาร เวลา 14.00 - 17.00 น.
วันศุกร์ 9.00 -12.00 น.
(โดยผู้ใช้บริการสามารถนัดคิวล่วงหน้า)




Visitors: 270,694