แคลเซียม / แมกนีเซียม เพื่อนรักที่ขาดกันไม่ได้

แคลเซียม / แมกนีเซียม เพื่อนรักที่ขาดกันไม่ได้

รู้หรือไม่ว่า แมกนีเซียมกับแคลเซียม เหมือนเป็นสิ่งคู่กันที่ทำหน้าที่ต่างๆต่อระบบร่างกายของคนเรา โดยแมกนีเซียมมีหน้าที่ควบคุมระบบประสาท และส่งสัญญาณประสาทควบคุมการหดของกล้ามเนื้อเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว

ส่วนแคลเซี่ยมนั้นทำหน้าที่ตรงกันข้าม คือทำหน้าควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ หากมีปริมาณแคลเซี่ยมมากเกินไปในกล้ามเนื้อจะส่งผลให้กล้ามเนื้อหดตัวแบบไม่ปกติส่งผลให้เป็นตระคิว นอกจากนี้ ธาตุทั้งคู่ยังช่วยในการเสริมสร้างกระดูก โดยแคลเซียมช่วยในเรื่องเสริมสร้างกระดูก ส่วนแมกนีเซียมช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง

ซึ่งการรับประทานแคลเซียมและแมกนีเซียม ควรรับประทานในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 โดยปริมาณที่เหมาะสมต่อวันคือ แคลเซียม 600 กรัม ต่อ แมกนีเซียม 300 กรัม โดยในผู้สุงอาย ที่ควรได้รับแคลเซียมในการบำรุงกระดูก เช่นการดื่มนมหรือทานแคลเซียมเสริม ควรจะรับประทานคู่กับแมกนีเซียมไปด้วย เนื่องจากแคลเซียมจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมของแมกนีเซียม

โรคกระดูกพรุน ที่ในอดีตถูกมองว่าเป็นโรคของหญิงชราวัยทองมานับสิบปี ในมุมมองของการแพทย์ในช่วงนั้น คือ การขาดของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นกลไกหลักของการปรับสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย ไม่กี่ปีมานี้วิวัฒนาการมุมมองทางการแพทย์ ของโรคเรื้อรัง และองค์รวมในความเสื่อมของร่างกายได้ขยายกว้างขึ้น ทำให้เข้าใจว่าการสูญเสียมวล



กระดูก คือ กลไกความเสื่อม (ชรา) ของระบบร่างกาย ที่มีปัจจัยเกี่ยวข้องที่หลากหลาย มิได้เป็นเพียงโรค เดี่ยวๆของ หญิงชราวัยทองหลายๆ ท่านอาจคิดว่ากระดูกเหมือนกับเปลือกหอยที่มีสภาพคล้ายหิน ในความจริงแล้ว

กระดูกเป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีวงจรชีวิตการสร้างและการทำลาย ที่ปรับเปลี่ยนไปตามกลไก แรงผลักดันของสิ่งแวดล้อมภายในร่างกาย

กระดูก คือ แหล่งเก็บแคลเซียมหลักของร่างกายที่นำไปใช้ในกลไกการดำรงชีวิต ที่หลากหลาย กลไกที่ซับซ้อน ควบคุม ปรับ สมดุลของ แคลเซียม ที่เนื้อเยื่อ กระดูก ประกอบด้วย การสร้าง หรือการเก็บแคลเซียม การทำลาย หรือการนำแคลเซียมไปใช้ ดังนั้น การสูญเสียมวลกระดูก คือ ภาวะการนำแคลเซียมไปใช้โดยไม่สมดุลกับการสร้างกลับ

การไม่สร้างกลับหรือความไม่สมดุลกับความต้องการแคลเซียมของร่างกาย เกิดจาก
• การขาดสัญญาณกระตุ้นสร้างเนื่องจากการใช้ชีวิตที่สบายไม่ออกกำลังกายไม่มีการออกแรงกระทำต่อเนื้อเยื่อกระดูก
• การพร่องลง หรือขาดความสมดุลของ ฮอร์โมนในการดำรงชีวิต ฮอร์โมน เอสโตรเจน และเทสโทสเตอโรน ที่ทำให้มวลกระดูกลดลงทั้งในเพศหญิง และเพศชาย
• Sex Hormone-Binding Globulin (SHBG) เป็นโปรตีนที่สร้างขึ้นที่ตับ ซึ่งเพิ่มมากขึ้น ตาม อายุ และกลไกความเสื่อมของร่างกาย ที่จะจับกับฮอร์โมนเพศที่เป็นเหตุให้หน้าที่ของฮอร์โมนดังกล่าวลดลง

• การดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ในภาวะของโรคเบาหวานทำให้การเผาผลาญในระดับเซลล์ของเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งกระดูกไม่มีประสิทธิภาพ
• ภาวะการคั่งของอนุมูลอิสระ และการอักเสบเรื้อรัง จะลดกลไกการซ่อมสร้างของเนื้อเยื่อกระดูก
• วิตามิน เค เป็น ปัจจัยรวมที่สำคัญ ในการเชื่อมแคลเซียมกับเนื้อเยื่อโปรตีนของกระดูก
• แคลเซียม วิตามิน ดี และเกลือแร่อื่นๆ วิตามินดี เป็นปัจจัยสำคัญในวงจรความสมดุลของแคลเซียมในการสร้างกระดูก นอกเหนือจากแคลเซียมเองแล้ว ยังมีองค์ประกอบของ เกลือแร่อื่นๆ ด้วย

การศูนย์เสียมวลกระดูกเกิดจากความเสื่อมของร่างกายที่ซับซ้อน จากปัจจัยที่เราอาจจะมองข้ามไป และอาจเกิดขึ้น ในช่วงชีวิต ที่เราไม่อาจทราบได้ การประเมิน การศูนย์เสียมวลกระดูก จึงเป็นสิ่งที่จะนิ่งนอนใจเสียไม่ได้ การตรวจแต่เนินๆ จะทำให้สามารถ ทราบได้ถึง ต้นเหตุของการสูญเสียสุขภาพกระดูก

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ เป็นโรงพยาบาลของรัฐ ที่มุ่งเน้นการประเมินสุขภาพร่างกาย ในองค์รวมของการเกิดโรค และภาวะสุขภาพเพื่อป้องกันและฟื้นฟู ก่อนการเจ็บป่วย

การตรวจ DEXA Scan คือการตรวจประเมินมวลกระดูกของร่างกาย ที่ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน โดยการประเมินจะนำค่าที่ตรวจได้มาเทียบกับค่าที่ควรจะได้ในแต่ละช่วงอายุ ทำให้เราทราบว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นในสมดุลแคลเซียมกับสุขภาพกระดูกหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การตรวจ DEXA Scan จะบอกได้แค่ว่ามีความเสื่อมเกิดขึ้น ส่วนการรักษาจะเน้นป้องกันที่สาเหตุ คือหลักสำคัญของการแพทย์บูรณาการ การปรึกษาแพทย์ให้ทราบถึงองค์รวมของการเกิดโรคแต่เนินๆ อย่ารอให้ภัยเงียบมีอาการเกิดขึ้น เพราะอาจจะสายเกินไป เมื่อท่านเข้าสู่ ถนนของความชรา-วัยทอง

บทความโดย นพ. เชวงศักดิ์ ดิสถาพร
นักวิจัยการแพทย์ บูรณาการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ จากนิตยสาร A DAY BULLETIN

ติดต่อเรา

      

www.mfuhospitalbkk.com

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร
38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพฯ 10110 โทร.02-664-4360

Visitors: 268,333