ดูแลอย่างไรเมื่อเกิดแผลเป็น

ปัญหาแผลเป็น เกิดขึ้นหลังจากมีการฉีกขาดของผิวหนัง ซึ่งจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ลักษณะนูนหรือแบนราบ สีแตกต่างจากสีผิวหรือกลมกลืนกัน ขึ้นอยู่กับขนาด ความลึกของแผลและขั้นตอนกระบวนการในการดูแลรักษาแผล ซึ่งชนิดของแผลเป็นโดยส่วนใหญ่ที่พบ แบ่งออกเป็น





Hypertrophic scar

แผลเป็นที่เกิดจากแผลขนาดใหญ่ที่ลึกถึงชั้นหนังแท้(dermis) มีลักษณะนูนแดง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย โดยขอบเขตของแผลเป็น อาจใกล้เคียงหรือเท่ากับรอยเดิมของแผล แผลเป็นชนิดนี้ เกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังจากแผลหาย และเมื่อทิ้งไว้อาจจะยุบลงได้เอง  แตกต่างจากคีลอยด์

คีลอยด์ (keloid)

เป็นแผลเป็นที่มีลักษณะนูนแดง และอาจมีอาการคันและเจ็บร่วมด้วย ขอบเขตของแผลอาจขยายกว้างกว่ารอยเดิมของแผล แผลเป็นคีลอยด์จะเกิดขึ้นหลังแผลหายแล้วตั้งแต่ 3 เดือนเป็นต้นไป และเมื่อทิ้งไว้จะคงอยู่และไม่สามารถยุบลงได้เอง ในบางรายอาจมีขนาดโตขึ้นกว่าเดิมอีก
ด้วย คีลอยด์มักพบในคนผิวสีคล้ำ อีกทั้งยังถ่ายทอดทางพันธุกรรมและยังเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอีกด้วย

วิธีการการรักษาแผลเป็น

ในทางการแพทย์ มีหลากหลายวิธีในการรักษาแผลเป็น อาจรักษาโดยการใช้แผ่นซิลิโคนปิด ให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น ลดการอักเสบได้ , การผ่าตัด , การฉีดยาสเตียรอยด์ , การใช้ยาทารักษา , การฉายรังสี หรืออาจทำการรักษาด้วยเลเซอร์ เป็นต้น

ที่มา pharmacy.hcu.ac.th
si.mahidol.ac.th

ติดต่อเรา

      

www.mfuhospitalbkk.com

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร
38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพฯ 10110 โทร.02-664-4360

Visitors: 271,115