อาการปวดสะบัก แทบจะเรียกได้ว่าเป็นโรค

อาการปวดสะบัก แทบจะเรียกได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตของชาวออฟฟิส ซึ่งหลายคนต้องได้ รับความทรมานจากอาการนี้ วันนี้เราจะมาให้ความรู้และวิธีการรักษาอาการปวดสะบักกันค่ะ
อาการปวดสะบักถือเป็นอาการที่อยู่ในกลุ่มของโรคออฟฟิสซินโดรม ซึ่งมีหลายคนยังเข้าใจ ว่าอาการออฟฟิสซินโดรมคือการทำงานหนักเกินไป
ซึ่งความจริงแล้ว อาการออฟฟิสซินโดรมเกิดจากการ ที่นั่งทำงานอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานหรือการเก็งกล้ามเนื้อเป็นเวลานานๆ อาการปวดสะบักก็เช่นกัน เกิดจากการเกร็งกล้ามเนื้อสะบักหรือ ไหล่เป็นเวลานานๆ หรือเกิดจากการถือของหนัก
อาการของอาการปวดสะบัก
อาการปวดสะบักจะมีอาการปวดตรงบริเวณสะบัก จนร้าวมาถึงหน้าอก บางครั้งจนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคหัวใจเพราะว่า อาการของโรคปวดสะบัก จะมีอาการเจ็บใกล้บริเวณหัวใจ
วิธีการรักษาและการฟื้นฟูอาการปวดสะบัก
อาการปวดสะบักส่วนใหญ่นั้น นักกายภาพจะใช้วิธีการรักษาด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังต่อไปนี้การใช้แผ่นประคบร้อนวางบนบริเวณสะบักเป็นเวลา20 นาทีการใช้เครื่อง เครื่องอัลตราซาวด์ นวด เพื่อประคบอาการปวดการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าช่วยลดอาการปวดการนวดตั้งแต่บ่าไล่ ลงมาถึงสะบัก
การฟื้นฟูอาการปวดสะบักด้วยตนเอง วิธีนี้เป็นวิธีที่เราสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ โดยเรื่มทำการวางขาเหยียดตรงงอเข่าข้างเดียวกับสะบักที่มีอาการปวด งอศอกข้างที่มีอาการปวดดันต้านกับเข่าที่ งอขึ้นมาพร้อมบิดตัวไปฝั่งตรงข้ามค้างไว้ 15 วินาที ทำ 10 ครั้ง
การดูแลและปรับพฤติกรรม เพื่อป้องกันอาการ ปวดสะบักวิธีป้องกันอาการปวดสะบักทำได้ดังต่อไปนี้
- ฝึกดันพื้นวันละ 20 ครั้ง
- การนอนคว่ำชันข้อศอกพร้อมยกตัวขึ้น
- ค้างไว้ 1 นาที 10 ครั้ง 2 เซ็ต
- เปลี่ยนจากการกระเป๋าสะพายข้างเป็นสะพายเป้แทนเพื่อไม่ให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
- สะบักข้างเดียวจนเกินไป
- ใช้หมอนและที่นอนไม่ให้นุ่มและแข็งจนเกินไป
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ เปิดให้บริการคลินิกกายภาพบำบัด เพื่อรักษา
และฟื้นฟูอาการปวดต่างๆจากโรคออฟฟิส ซินโดรมหรืออาการบาดเจ็บการเล่นกีฬา
โดยเปิดให้คำปรึกษาวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา9.00 - 17.00 น.
