บรรเทาอาการปวดหัว ด้วยการฝังเข็ม
อธิบายอาการปวดหัวไว้หลายสาเหตุมีอะไรบ้างและมีวิธีการรักษาอย่างไร
วันนี้เรานำความรู้มาแชร์ให้รู้กันค่ะ
อาการปวดศีรษะมีกี่ประเภทเราสามารถแบ่งอาการปวดศีรษะ
เป็นทั้งหมด 2 ประเภท คือ
1.อาการปวดศีรษะแบบไม่ทราบสาเหตุเช่น ไมเกรน อาการปวดแบบตึงเครียด
อาการปวดแบบเป็นระลอก
2.อาการปวดศีระษะแบบทราบสาเหตุเช่น การเกิดเส้นเลือดแดงอักเสบ
การเกิดเลือดออกในสมอง ไซนัส อักเสบ ต้อหิน และความดันโลหิตสูง
สาเหตุของอาการปวดหัวในทางการแพทย์แผนจีน
สาเหตุของอาการปวดหัวในทางการแพทย์
แผนจีนแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. อาการปวดหัวเนื่องจากความผิดปกติภายในร่างกาย เกิดจากหยางตับเกิน
จากชี่คั่งเกิดอารมณ์โกรธสาเหตุเกิดจากสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
จากชี่คั่งเกิดอารมณ์โกรธสาเหตุเกิดจากสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ลม ความชื้น ความเย็น
- อารมณ์แปรปวน
- ความชื้นเป็นสาเหตุให้เกิดเสมหะ
- การมีเลือดคั่งในร่างกาย เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
- เกิดจากชี่และเลือดพร่อง เกิดจากสารอาหารไม่เพียงพอ ความเครียด
.
2.อาการปวดหัวเนื่องจากปัจจัยภายนอกเกิดจากลมเข้ากระทำต่อเส้นลมปราณส่วน
บนของร่างกาย ทำให้ชี่และเลือดไหลเวียนไม่คล่อง
การรักษาอาการปวดหัวด้วยแพทย์แผนจีน
การรักษาอาการปวดหัวด้วยแพทย์แผนจีนนั้นสามารถรักษาได้ตามกลุ่มของอาการ หรือรักษา
ตามอาการปวดหัวที่หาสาเหตุไม่ได้และหาสาเหตุได้โดยแบ่งได้ดังต่อไปนี้
การรักษาตามกลุ่มของอาการ
การรักษาตามกลุ่มของอาการ
1.การปวดศีระษะที่เกิดจากเสมหะอาการของการปวดชนิดนี้ จะปวดบริเวณ
หน้าผาก แน่นหน้าอก
การรักษา
สลายเสมหะ ทะลวงลมปราณ ระงับอาการปวดใช้จุดลมปราณตู ม่าย เส้นลมปราณเท้าหยาง
หมิงเป็นหลัก กระตุ้นเข็มแบบระบาย
2.การปวดศีรษะจากหยางตับ อาการของการปวดชนิดนี้ จะปวดด้านใดด้านหนึ่ง เวียนศีรษะ
หงุดหงิดง่ายอาการจะกำเริบเมื่อเครียด
การรักษา
จะทำการสงบตับ ดึงชี่กลับลงล่างดับลมคุมหยางใช้จุดฝังเข็มบนเส้นลมปราณ
เท้าเส้าหยาง เส้นอิน เจวี๋ยอินเป็นหลักกระตุ้นเข็มระบาย
การรักษาตามกลุ่มของอาการ
ที่ไม่ทราบสาเหตุของอาการปวดวิธีการรักษา เปิดทวารสมอง ทะลวงเส้นลมปราณ
โดยทำการฝังเข็มทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นจะสลับเป็นวันเว้นวัน จุดกว่าจะหาย หากมีอาการอีก
ค่อยกลับมารักษาใหม่เพราะไม่สามารถป้องกันให้กลับมาเป็นซ้ำใหม่ได้
การรักษาตามกลุ่มที่ทราบสาเหตุ
ของอาการปวด
1.การปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูงสาเหตุของอาการปวดเกิดจากไฟตับกำเริบ
โมโหง่าย และภาวะหยางตับแกร่ง ซึ่งเริ่มต้นจากภาวะอินตับและไตพร่อง เมื่อผ่านไป
สักระยะจะกลายเป็นภาวะหยางตับมีมากขึ้นการรักษาอาจเลือกใช้จุดไกลก่อนโดยเลือก
ใช้จุดตามแนวเส้นลมปราณที่ผ่านบริเวณที่มีอาการปวดศีรษะแล้วจึงเพิ่มจุดใกล้
หากอาการไม่ทุเลา
การรักษาอาการปวดหัวโดยใช้หลักการแพทย์
แผนจีนนั้นถือเป็นทางเลือกหนี่งในการรักษาโดยเน้นทางด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
ที่มีความปลอดภัยระดับหนึ่ง
ข้อห้ามในการฝังเข็ม ไม่ควรทำการฝังเข็ม
ในผู้ป่วยต่อไปนี้
- สตรีตั้งครรภ์
- โรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการแข็งตัวของเลือด
- โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน
- โรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยแน่นอน
- ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้น
- การเต้นหัวใจ (Pacemaker)