โพรไบโอติก คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

โพรไบโอติก คืออะไร


มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีร่างกาย ที่มีการทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าสิ่งมีชึวิตอื่นๆบนโลก เชื่อหรือ
ไม่ว่า ร่างกายของเรายังมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆอาศัยอยู่ในร่างกายของเรา ราวกับว่าร่างกาย ของเราเป็นบ้านหลังใหญ่
ของพวกมัน สิ่งนี้เรียกว่าจุลินทรีย์ 

ร่างกายของเราเต็มไปด้วยจุลินทรีย์มากถึง 100 ล้านล้านตัว ในขณะที่เซลล์ของมนุษย์
ของเรามีเพียง 10 ล้านล้านเซลล์เท่านั้นจุลินทรีย์เหล่านี้อาศัยอยู่ตามอวัยวะภายในร่างกาย
เช่น กระเพราะอาหาร ลำไส้เล็กและลำไส้ลำใหญ่โดยมีสายพันธ์ุหลากหลายต่างกันไป

แต่จุลินทรีย์พวกนี้ก็ไม่ได้นั่งเล่นนอนเล่นอยู่ในร่างกายของเราเฉยๆ แต่มันสร้างประโยชน์
ให้ร่างกายอย่างคิดไม่ถึงเราเรียกสิ่งนี้ว่า โพรไบโอติก

จุลินทรีย์ดีและจุลินทรีย์ไม่ดี เป็นอย่างไร

จุลินทรีย์ดี ช่วยย่อยสลายอาหารและเพิ่มชั้นการปกป้อง
ให้กับลำไส้และทำหน้าที่อื่นๆอีกนับพันประการ

จุลินทรีย์ไม่ดี อาจเกิดจากโภชนาการที่ไม่ดีมลภาวะ ความเครียด และการพักผ่อนไม่
เพียงพอทำให้ร่างกายทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์มีอาการท้องเสีย ท้องอืด แก๊สเกิน

 โพรไบโอติก คืออะไร

โพรไบโอติก หรือเรียกว่าแบคทีเรียดีคือ กลุ่มแบคที่เรียหรือยีสต์อยู่ในระบบทาง
เดินอาหาร และระบบอื่นๆ ของร่างกาย หากมีประมาณที่เหมาะสม จะทำให้ระบบการทำงาน
ในต่างๆ และระบบป้องกันโรค และการดูดซึมสารอาหาร

ทำไมร่างกายต้องการโพรไบโอติก

เพราะโพรไบโอติกมีความสำคัญอย่างมากในระบบทางเดินอาหารเป็นกลุ่มของอวัยวะ เช่น
กระเพราะอาหาร ตับอ่อนและตับ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการรักษาภาวะให้ร่างกายเป็นปกติ
โดยประกอบด้วยทั้งหมด 3 หน้าที่ คือ ระบบย่อยดูดซึม สร้างพลังงาน ซึ่งหากกระบวนการใด
มีปัญหาก็จะส่งผลให้ ร่างกายไม่แข็งแรงเกิดอาการเจ็บป่วยได้ โพรไบโอติก

 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ โพรไบโอติกลดลง

❌การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น
❌การบริโภคน้ำตาล
❌การรับประทานอาหารแปรรูป
❌การบริโภคแป้งที่ผ่านการขัดสี
❌ภาวะเครียด
❌อยู่ระหว่างการรักษาโดยใช้ยา
❌การดื่มแอลกอฮอล์
❌ขาดการออกำลังกาย
❌ภาวะการขาดการรับภูมิต้านทาน
❌การสูบบุหรี่จัด
❌ภาวะพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น
นอนไม่หลับสนิท
❌ภาวะสูงอายุ
❌การรับดื่มคาเฟอีน


เราจะรับสารโพรไบโอติกจากแหล่งใด

โพรไบโอติก ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคตริก ได้ เช่น แล็กโตบาซิลลัส
และไบฟิโดแบคทีเรีย มักพบในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทหมัก เช่น กิมจ นมเปรี้ยว
โยเกิร์ต เป็นต้น

ที่มา: bumrungrad.com
           amprohealth.com

ติดต่อเรา

      

www.mfuhospitalbkk.com

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร
38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพฯ 10110 โทร.02-664-4360

Visitors: 270,703