ดัชนีไกลซีมิก รู้ไว้ไม่ป่วย

รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรที่เข้าสู่โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากการมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เกินความพอดี และมีนิสัยตามใจปากมากเกินไป และสุดท้ายคือขาดความรู้ด้านโภชนาการที่ดี แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า อาหารอะไรบ้างที่เราสามารถรับประทานได้และไม่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

ดัชนีไกลซีมิก คืออะไร

เป็นดัชนี ที่ใช้วัดคุณภาพของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากน้อยแค่ไหน โดยมีค่าจาก 0 -100 ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่ามีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคความดันในเลือดสูงและโรคหัวใจหรือไม่




คาร์โบร์ไฮเดรตเกี่ยวข้องกับดัชนีไกลซีมิกอย่างไร คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารประเภทน้ำตาล โดยแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ประกอบไปด้วย

  • น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือน้ำตาลพื้นฐานได้แก่ กลูโคส ฟลุคโตส และกาแลโตส
  • น้ำตาลโมเลกุลคู่ คือ น้ำตาลพื้นฐานมาจับคู่กันได้แก่ แลคโตส มอลโตส ซูโครส

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ประกอบไปด้วย
  • น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่รวมกันเกิน 3 ตัว แต่ไม่เกิน 10 ตัวได้แก่ โอลิโกแซ็กคาไรด์
  • น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่รวมกันเกิน 10 ตัวขึ้นไป ได้แก่ โพลี่แซ็กคาไรด์

เมื่อเรารับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ร่างกายจะย่อยเหลือเพียงน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เพื่อให้ร่างกายดูดซึมและแปลงเป็นพลังงาน รวมถึงระดับน้ำตาลในเลือดก็จะเพิ่มสูงขึ้น โดยดัชนีไกลซีมิกจะบอกว่าอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทใดบ้างที่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น เช่น การรับประทานขนมปังหรือน้ำอัดลม 2 อย่างนี้มีค่าดัชนีไกลซีมิกใกล้เคียงกัน นั่นหมายความว่า อาหารทั้ง 2 อย่างนี้ ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นในอัตราเท่ากัน เมื่อน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายก็จะส่งต่อไปยังกระแสเลือด และแปลงเป็นพลังงาน

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน

ปกติตับอ่อนจะสร้างสารอินซูลินเพื่อนำน้ำตาลในเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆ เมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ร่างกายจะเข้าสู่ภาวะดื้ออินซูลิน และเข้าสู่ภาวะเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

อาหารที่มีค่าดัชนีไกลซีมิกระดับต่างๆ

อาหารที่มีค่าดัชนีไกลซีมิกต่ำ
ค่าเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลเท่ากับ 55
หรือน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ได้แก่
  • ถั่วต่างๆ
  • ผัก
  • เมล็ดธัญพืช
  • โยเกิร์ต
  • เกรฟฟรุต
  • แอปเปิล
  • มะเขือเทศ

อาหารที่มีค่าดัชนีไกลซีมิกปานกลาง

ค่าเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลเท่ากับ 56 - 69
เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ได้แก่
  • อาหารประเภทเส้น
  • ถั่วคั่ว
  • ถั่วฝักเขียว
  • มันเทศ
  • น้ำส้มคั้น
  • บลูเบอรี่
  • ข้าวโพดหวาน
  • ซุปถั่ว
  • ข้าวกล้อง

อาหารที่มีค่าดัชนีไกลซีมิกสูง

ค่าเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลเท่ากับ 70
หรือมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ได้แก่
  • ขนมปังขาว
  • ข้าวเมล็ดสั้น
  • มันฝรั่งอบ
  • มันฝรั่งทอด
  • ไอศกรีม
  • ลูกเกด
  • ผลไม้อบแห้ง
  • กล้วย
  • แครอท
  • ผลไม้ที่มีรสหวาน

ที่มา
foodnetworksolution.com
oodnetworksolution.com
TED-Ed Thai

 

ติดต่อเรา

      

www.mfuhospitalbkk.com

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร
38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพฯ 10110 โทร.02-664-4360

Visitors: 270,723