นาฬิกาชีวิตเพี้ยน ส่งผลร้ายมากกว่าที่คิด

นาฬิกาชีวิตเพี้ยน ส่งผลร้ายมากกว่าที่คิด

ความเหนื่อยล้าจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน ทำให้หลายคนต้องการพักผ่อนแต่กลับพบว่า เมื่อล้มตัวลงนอนกลับนอนไม่หลับ เชื่อว่าหลายคนประสบกับปัญหานี้อยู่ วันนี้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับอาการนอนไม่แม้ขณะที่ร่างกายยังเหนื่อยล้าอยู่

ก่อนจะรู้จักอาการนอนไม่หลับแม้ขณะที่ร่างกายยังเหนื่อยล้าอยู่ เราต้องทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า นาฬิกาชีวิต ก่อน ซึ่งนาฬิกาชีวิตคือ กระบวนการทางชีวภาพ ที่กำหนดเวลาต่างๆในการควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น การนอนหลับ การปรับอุณหภูมิในร่างกาย ตลอด 24 ชั่วโมง โดยสัมพันธ์กับโลกและสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็น ฮอร์โมนที่ช่วยในการนอน จะเริ่มทำงานเมื่อแสงสว่างค่อยลดลง หรือ ในที่มืด



สาเหตุของอาการนอนไม่หลับแม้ว่าร่างกายเหนื่อยล้าจากการทำงาน

ส่วนหนึ่งพบว่า อาจเกิดจากนาฬิกาชีวิตเกิดการผิดเพี้ยนไป ทำให้ร่างกายไม่สามารถนอนหลับได้ พบมากในผู้ที่มีภาวะ Jet lag หรือผู้ป่วยอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอย่างอื่น เช่น การงีบหลับในช่วงกลางวัน ความวิตกกังวลต่างๆ โรคอาการซึมเศร้า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือติดเล่นมือถือก่อนนอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดสัญญาณโรคร้ายต่างๆตามมาเช่น โรคหลอดเลือดสมอง อัลไซเมอร์ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน

ดังนั้นเราควรพฤติกรรมการชีวิตต่างๆเพื่อให้นาฬิกาชีวิตของเราเป็นปกติ รวมการปรับพฤติกรรมที่ไม่ให้เป็นการรบกวนการนอน ไม่ว่าจะ การเลิกเล่นมือถือก่อนนอน การปรับห้องนอนให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำจิตใจไม่ให้มีความวิตกกังวล และสุดท้ายคือการปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสม

ติดต่อเรา

      

www.mfuhospitalbkk.com

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร
38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพฯ 10110 โทร.02-664-4360

Visitors: 268,147